นับตั้งแต่กลางเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา กระแสการประท้วงเพื่อสนับสนุนชาวปาเลสไตน์และต่อต้านการทำสงครามในฉนวนกาซาได้แพ่กระจายลุกลามไปยังมหาวิทยาลัยหลายสิบแห่งทั่วสหรัฐฯ ซึ่งเป็นพันธมิตรและผู้สนับสนุนหลักของอิสราเอล
สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มติดอาวุธฮามาสดำเนินมาตั้งแต่เดือน ต.ค. 2023 จนถึงตอนนี้ยังไร้วี่แววจุติ แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบมากที่สุดคือพลเรือนชาวกาซาผู้บริสุทธิ์ การประท้วงเรียกร้องให้หยุดยิงในฉนวนกาซาจึงเกิดขึ้นคำพูดจาก เว็บพนันออน
แต่การประท้วงที่เริ่มต้นจากเพียงมหาวิทยาลัยเดียวในกรุงนิวยอร์ก ขยายไปยังสุดขอบฝั่งตะวันตกของประเทศได้อย่างไร นี่คือลำดับเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวของนักศึกษาในสหรัฐฯ ครั้งสำคัญที่อาจส่งผลกระทบไปถึงผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ
17 เมษายน – นักศึกษามหาวิทยาลัยโคลัมเบียเริ่มตั้งเต็นท์เรียกร้องยุติสงครามในฉนวนกาซาในวิทยาเขตแมนฮัตตัน บริเวณพื้นหญ้าด้านนอกห้องสมุดบัตเลอร์ รวมถึงเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยถอนการลงทุนจากบริษัทที่สนับสนุนอิสราเอลด้วย
ในวันเดียวกันนี้ มินูช ชาฟิก ประธานมหาวิทยาลัยบอกกับรัฐสภาสหรัฐฯ ว่า จะปกป้องนักศึกษาชาวยิวจากวิกฤตทางศีลธรรมของขบวนการต่อต้านชาวยิวคำพูดจาก สล็อต777
18 เมษายน – ผู้ประท้วงสนับสนุนชาวปาเลสไตน์กว่า 100 คนถูกจับกุมที่ ม.โคลัมเบีย หลังจากประธานมหาวิทยาลัยขอให้ตำรวจนิวยอร์กเคลียร์พื้นที่ตั้งแคมป์
การจับกุมดังกล่าวได้รับความสนใจจากทั่วประเทศ และทำให้การประท้วงในมหาวิทยาลัยลุกลามไปทั่วประเทศ โดยไม่กี่วันถัดมา ค่ายที่สนับสนุนชาวปาเลสไตน์ถูกตั้งขึ้นที่มหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น ม.มิชิแกน, สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT), ม.นอร์ธแคโรไลนา ฯลฯ
22 เมษายน – ตำรวจจับกุมผู้ประท้วงหลายร้อยคนที่มหาวิทยาลัยเยลในคอนเนตทิคัต และมหาวิทยาลัยนิวยอร์กในแมนฮัตตัน ขณะที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียประกาศยกเลิกการเรียนการสอน
24 เมษายน – ตำรวจปราบจลาจลหลายร้อยนายถูกส่งเข้าไปปราบปรามผู้ประท้วงที่สนับสนุนชาวปาเลสไตน์ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส เมืองออสติน โดยตำรวจบางส่วนขี่ม้าและถือกระบอง ปะทะกับผู้ประท้วง ผลักดันพวกเขาออกจากบริเวณมหาวิทยาลัย
25 เมษายน – ไมค์ จอห์นสัน ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ บอกว่าสถานการณ์ใน ม.โคลัมเบียอยู่นอกเหนือการควบคุมแล้ว และเสนอแนะว่าควรนำกองกำลังสำรองของกองทัพสหรัฐฯ เข้ามาเพื่อฟื้นฟูความสงบเรียบร้อย
27 เมษายน – จำนวนการจับกุมเพิ่มขึ้นมากกว่า 1,000 แห่งในวิทยาเขตต่าง ๆ ในขณะที่ผู้บริหารเรียกร้องให้ตำรวจสลายค่ายประท้วงในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ตั้งแต่แมสซาชูเซตส์ไปจนถึงแอริโซนา
28 เมษายน – ผู้ประท้วงที่สนับสนุนชาวปาเลสไตน์ปะทะกับผู้ประท้วงที่สนับสนุนอิสราเอลที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียลอสแอนเจลิส (UCLA) หลังจากกลุ่มผู้สนับสนุนชาวอเมริกันเชื้อสายอิสราเอลจัดการเดินขบวนประท้วงใกล้กับค่ายของผู้ประท้วงที่สนับสนุนชาวปาเลสไตน์
29 เมษายน – การปะทะกันระหว่างกลุ่มที่สนับสนุนปาเลสไตน์และกลุ่มสนับสนุนอิสราเอลปะทุขึ้นที่ UCLA อีกครั้ง หลังจากนักเคลื่อนไหวที่สนับสนุนอิสราเอลถูกกันไม่ให้เข้าพื้นที่ของมหาวิทยาลัยโดยผู้ประท้วงที่สนับสนุนปาเลสไตน์ ทางมหาวิทยาลัยจึงเริ่มสั่งพักการเรียนนักศึกษาที่ประท้วงสนับสนุนปาเลสไตน์
30 เมษายน – นักศึกษามหาวิทยาลัยบราวน์ตกลงที่จะย้ายค่ายออกเพื่อแลกกับการที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัยจะประชุมพิจารณาถอนการลงทุนจากบริษัทที่สนับสนุนอิสราเอล ซึ่งถือเป็นข้อตกลงแรกที่เกิดขึ้นระหว่างฝ่ายผู้ประท้วงกับมหาวิทยาลัย
1 พ.ค. –ผู้ประท้วงเข้ายึดแฮมิลตันฮอลล์ของ ม.โคลัมเบีย โดยนำสิ่งกัดขวางมากั้นทางเข้า เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงใช้อุปกรณ์สร้างทางลาดยกระดับและทุบตึกเพื่อพังอาคารเข้าไป โดยจับกุมผู้ประท้วงที่สนับสนุนปาเลสไตน์ได้หลายสิบคน และดำเนินการย้ายค่ายประท้วงออก
2 พฤษภาคม – ตำรวจเคลียร์ค่ายสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ที่ UCLA ขณะที่จำนวนผู้ประท้วงที่ถูกจับกุมรวมเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 คนแล้ว
ทั้งนี้ จุดที่ผู้ประท้วงถูกจับกุมไปมากที่สุดคือ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย 390 คน เนื่องจากเป็นจุดแรกและยังเป็นจุดที่มีผู้ประท้วงมากที่สุด คือมากกว่า 2,000 คน
ที่ถูกจับรองลงมาคือมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก 133 คน, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส 132 คน, วิทยาลัยเอเมอร์สัน 118 คน และมหาวิทยาลัยนอร์ธอิสเทิร์น 102 คน
การประท้วงใหญ่ของนักศึกษาทั่วสหรัฐฯ จากปมเหตุที่เกี่ยวข้องกับสงครามอิสราเอลนี้ ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า อาจส่งผลกระทบต่อคะแนนเสียงจากคนรุ่นใหม่ และโอกาสที่จะคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในช่วงปลายปีของ โจ ไบเดน
ผลสำรวจหลายสำนักแสดงให้เห็นว่า ความไม่พอใจในตัวไบเดนเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยผลสำรวจสำนักข่าว CNN ระหว่างวันที่ 18-23 เม.ย. ชี้ว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อายุต่ำกว่า 35 ปี ถึง 81% ไม่เห็นด้วยกับการจัดการของไบเดนเกี่ยวกับสงครามในกาซา
และเมื่อถามว่า ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ระหว่างไบเดนและทรัมป์ จะเลือกใคร 51% บอกว่าจะเลือกทรัมป์ ขณะที่ 40% บอกว่าจะเลือกไบเดน
ทั้งนี้ ถ้ามองย้อนไปในประวัติศาตร์การประท้วงของนักศึกษาไม่ใช่เรื่องใหม่ในสหรัฐฯ เคยมีปรากฎมาแล้วหลายครั้ง ครั้งหนึ่งที่หลายฝ่ายนำมาเทียบเคียงคือช่วงสงครามเวียดนาม ทศวรรษ 60-70
นักศึกษามหาวิทยาลัยเรียกร้องให้ยุติสงครามและออกมาต่อต้านทหาร เพราะกลัวว่าหลังเรียนจบจะถูกส่งไปรบ นักศึกษาหลายพันคนออกมาประท้วงสงครามซึ่งขณะนั้นมีทหารอเมริกันมากกว่า 58,000 นายเสียชีวิต
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 1964 นักศึกษาประมาณ 400 คนจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และวิทยาลัยอื่น ๆ ออกมาประท้วงทางการสหรัฐฯ ในระหว่างการเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก โดยเรียกร้องให้ถอนทหารออกจากเวียดนามใต้ และยุติความช่วยเหลือทางทหาร
เรียบเรียงจาก Reuters / The Times
ผลบอลยูโรป้า ลีก รอบรองฯ นัดแรก เลเวอร์คูเซ่น คว้าชัย มาร์กเซย เสมอ อตาลันต้า
เปิดใจ "ป้าติ๋ม" นายจ้างยกมรดก 100 ล้าน ให้ก่อนตาย
เตือนพายุฤดูร้อนฉบับที่ 5 วันนี้ 31 จังหวัดนี้อาจเจอฝน-ลูกเห็บถล่ม