Pride Month – ฟังเสียง “ทูตนฤมิต” ตัวแทน LGBT เมื่อการเรียกร้องคือชีวิต

เบื้องหลังเดือนแห่งความภาคภูมิใจในความหลากหลายทางเพศ ที่เราได้เห็นขบวนไพรด์พาเหรดโบกสะพัดธงสีรุ้งสดใส หรืออาคารสถานที่ที่ถูกตกแต่งให้เป็นเหมือนเมืองสีรุ้ง ที่จริงแล้วไม่ใช่แค่ความสวยงาม หรือเวทีการแสดงออกถึงความเป็นตัวตนแบบผิวเผิน แต่แฝงไว้ด้วยสัญลักษณ์แห่งการเรียกร้องอย่างสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ ที่ไม่จำเป็นต้องต่อสู้เหมือนนักรบในสงคราม

“มีมี่” หนึ่งในทูตนฤมิตประจำปีนี้ ตัวแทนของ “LGBTQIAN+” ได้ออกมาเล่าเรื่องราวเบื้องลึก เบื้องหลังของเทศกาลสีรุ้งให้ฟังกัน

รู้จักธงสัญลักษณ์ "Pride Month" ของชาว LGBTQIAN+ ทำไมต้องเป็นสีรุ้ง

ทำความรู้จักความหมาย "LGBTQIAN+" ต้อนรับ Pride Month

มีมี่

การต่อสู้มีหลากหลายรูปแบบ

ตลอดระยะเวลาที่ มีมี่ นักกิจกรรมเยาวชนขับเคลื่อนเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ ได้สัมผัสกับผู้มีความหลากหลายทางเพศมากมาย รวมถึงดีไซเนอร์ พวกเราต่างเชื่อว่า แฟชันสามารถบ่งบอกความเป็นตัวตน” ได้

โดย มีมี่ บอกว่า เสื้อผ้าเป็นได้ทั้งเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างความเข้าใจ การสนับสนุน และการแสดงออกถึงความเข้าอกเข้าใจไปยังสังคม

ยกตัวอย่างชุดทูตนฤมิตของตัวเอง ที่ได้รับการออกแบบมาเป็นสีชมพูแดงเหมือนนักรบแฟรี่ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสดใสเหมือนตัวเอง และความกล้าหาญในการเรียกร้องที่ผ่านมา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศด้วยที่สื่อออกมาว่า การต่อสู้ของพวกเรามีหลากหลายรูปแบบ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรุนแรงคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ทูตนฤมิต

ปีแห่งการปักหมุดหมายความเท่าเทียมทางเพศ

สำหรับชุดของมีมี่ได้ปรากฏออกสู่สายตาประชาชนอย่างเป็นทางการครั้งแรกในงานบางกอกไพร์ดที่กรุงเทพฯ (ฺBangkok Pride 2023)โดย มีมี่ เล่าให้ฟังว่า ในวันงานตื่นเต้นมาก เพราะด้วยความอลังการของชุด ก็มีคนเข้ามาขอถ่ายรูปมากมาย และครั้งนี้พิเศษกว่าปีที่ผ่านมาๆ มา เพราะมีคนเยอะมากๆ เยอะมากกว่าที่เจ้าตัวคิดไว้ด้วย จนถนนบริเวณแยกปทุมวันไปจนถึงแยกราชประสงค์ที่มีมากถึง 4 เลน ดูเล็กลงไปทันตา

นอกเหนือจากนั้น ยังมีการประกาศจาก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในวันเดียวกันว่า ภายใต้รัฐบาลของตนจะทำงานร่วมผลักดันให้กรุงเทพฯ ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์ไพร์ดในปี 2028 ต่อจาก 3 เมืองใหญ่ คือ ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย, กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา และ อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์

สิ่งเหล่านี้เป็นการปักหมุดหมายให้เห็นว่าสังคมไทยต้องการความเท่าเทียมทางเพศ และถ้าหากประเทศไทยได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าภาพเวิลด์ไพร์ด จะถือเป็นประเทศแรกในเอเชียด้วย

บรรยากาศงาน Bangkok Pride 2023

การเรียกร้องที่ตั้งอยู่บนความอยู่รอด

จะเห็นได้ว่ากระแสสังคมไทยเปลี่ยนไปแล้ว แต่ยังคงไม่มีกฎหมายและนโยบายในเชิงคุ้มครองกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ กฎหมายในรัฐธรรมนูญยังระบุถึงแต่เพศชายและหญิง ยังไม่มีสมรสเท่าเทียม และ พ.ร.บ.เรื่องอัตลักษณ์ความเท่าเทียมทางเพศ

ส่วนในเชิงวัฒนธรรม ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศอื่น สังคมไทยของเราอาจยอมรับความเป็นตัวตนได้มากกว่า แต่ยังปฏิเสธไม่ได้ว่าก็ยังมีความรุนแรงที่ยังฝังเป็นรากลึกให้เราต้องเคาะๆ กันไป

ยังมีเพื่อนๆ เรา และกลุ่มคนชายขอบอีกหลายคน ที่ต้องหลบซ่อนตัวตนของตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่ว่าเป็นอาการคิดมาก แต่เกิดขึ้นเพราะสภาพแวดล้อมที่พวกเขาต้องเจอตั้งแต่เกิด

เช่น เมื่อพ่อแม่รู้ว่าเราเป็นเพศหญิง ก็จะเลือกซื้อแต่ของสีชมพูมาให้ ลูกจะต้องแต่งตัวประมาณนี้นะ สวมชุดแบบนี้นะ ต่อมาเมื่อเข้าสู่โรงเรียน ยิ่งเป็นสนามเข้มข้นของเพศ ที่มักจะถูกตีกรอบ ให้แบ่งแยกจัดแถวเป็นเพศหญิงเพศชาย หรือสอนพฤติกรรมว่าแบบไหนที่ชายควรทำหญิงไม่ควรทำ อย่างผู้หญิงห้ามเล่นกับผู้ชาย ใส่กางเกงไม่ได้ จะต้องสวมกระโปรง และถ้าสวมกระโปรงอยู่ก็ห้ามวิ่ง สิ่งเหล่านี้นี่แหละที่ค่อยๆ ฆ่าความเป็นตัวตน และลดความมั่นใจของพวกเราไปทีละนิด

อย่างไรก็ตามแม้ในสถานศึกษาต่างๆ จะมีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้วว่า ให้มีเสรีการแต่งกายและทรงผมขึ้นในกลุ่มเยาวชน เปิดโอกาสให้เราได้ลองค้นหาตัวตน แต่ถ้าดูดีๆ แล้วกฎระเบียบนี้เป็นการยกอำนาจให้แต่ละโรงเรียน ซึ่งบางโรงเรียนยังคงเข้มกฎระเบียบเดิม สุดท้ายแล้วเยาวชนก็ไม่ได้รับการปรับเปลี่ยน

ดังนั้นทางออกของเรื่องนี้จึงต้องกลับไปเริ่มต้นว่ากระทรวงให้ความสำคัญของสิทธิเด็กและสิทธิมนุษยชนจริงไหม และควรจะเป็นกฎหมายมากกว่าว่า เด็กควรมีเสรีภาพในการแสดงออกตามรัฐธรรมนูญ ตามสิทธิมนุษยชน ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่เขาลงชื่อเอาไว้ ไม่ใช่ปล่อยให้มันเป็นเสรีแล้ว แบบอนุญาตให้เกิดการกดขี่เกิดขึ้นอย่างชอบธรรม

ปัญหาที่กดทับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมาตั้งแต่เด็ก ทำให้เพื่อนเรามีสุขภาพจิตและสุขภาวะความเป็นอยู่ที่แย่มาก และหลายคนตกเป็นโรคซึมเศร้า พวกเราเพียงแค่อยากสื่อสารออกไปเพื่อให้ได้รับการดูแลจากสังคมที่เท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ได้เห็นพวกเราออกมาเรียกร้องกัน

“ความเท่าเทียมทางเพศ ไม่ใช่ประเด็นสำหรับการทำการตลาด หรือแค่เรื่องพื้นๆ ทั่วไป แต่มันคือชีวิตและจิตวิญญาณ ที่เราเรียกร้องไม่ใช่ว่าเราคิดมาก หรือเป็นคนเซนซิทีฟ แต่เพราะเราต่อสู้มาตลอดเราเลยยังไม่ตาย”

บรรยากาศงาน Bangkok Pride 2023

เรื่องแรกต้องแก้กฎหมายทุกอย่างที่ไม่เป็นธรรมทางเพศ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราต้องการกฎหมาย เพื่อการดำรงชีวิต และสิ่งแรกที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างให้ทำเป็นสิ่งแรกคือ การมีสมรสเท่าเทียม ซึ่งเราหวังว่าหลังจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ 90 วัน เราจะมีสมรสเท่าเทียม และหลังจากนั้นอยากให้รัฐบาลเดินหน้าต่อเรื่องการแก้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมทุกอย่างที่ไม่เป็นธรรมทางเพศ

เป้าหมายระยะยาวต้องยุติความรุนแรงทางเพศทุกรูปแบบ

ความเท่าเทียมทางเพศ เป็นปัญหาที่ฝังรากลึกมานาน ต่อให้เราแก้ที่ระบบ แก้ที่กฎหมายอาจไม่สามารถทำได้หมด วัฒนธรรมในสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญเหมือนกัน ดังนั้นเป้าหมายในระยะยาวต่อจากนี้ จะต้องยุติความรุนแรงทางเพศทุกอย่าง โดยเริ่มจากคนใกล้ตัวเรา จะต้องไม่ใช้ความรุนแรงทางวาจา หรือร่างกายต่อกัน หลังจากนั้นจะขยายการดูแลเรื่องนี้ไปยังทุกภาคส่วนทั้ง ชุมชนและประชาชน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และลดความรุนแรงทางเพศทุกรูปแบบให้หมดไป

เส้นทางการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศผ่านเรื่องราวความเจ็บปวดของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมาอย่างมากมาย แม้พวกเขาจะถูกสังคมหันหลังให้แต่การยังมีชีวิตอยู่เพื่อเดินหน้าต่อสู้ต่อในทุกรูปแบบคือสิ่งที่เรียกว่า “การไม่สยบยอม”

"บางกอกไพรด์ 2023" ชวนชมขบวนแห่สีรุ้ง ถ่ายรูปกับ "6 ทูตนฤมิต"

ทำความรู้จักความหมาย "LGBTQIAN+" ต้อนรับ Pride Month

รวมที่เที่ยวงาน "Pride Month" เช็กจุดถ่ายรูป-เดินไพรด์พาเหรด

 Pride Month - ฟังเสียง “ทูตนฤมิต” ตัวแทน LGBT เมื่อการเรียกร้องคือชีวิต

By admin

Related Post